Show Times:
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงหนุนหลักจากการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve และอุตสาหกรรม S-curve ใหม่ ภายในโครงการเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ การให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกจึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญในการตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมกับสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย สถาบันไทย-เยอรมัน และอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย จัดงานMIRA (Maintenance Industrial Robotics and Automation) และ SubconEEC 2022ครั้งแรกของภูมิภาคศักยภาพสูงกับการจัดงานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการบำรุงรักษา เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ภาคอุตสาหกรรมระดับแนวหน้าของภาคตะวันออกเชื่อมโยงการรับช่วงการผลิตระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve & New S-curve ต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ พร้อมผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยได้ก้าวขึ้นสู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับโลก สู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
นางสาวซ่อนกลิ่นพลอยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นก่อนวิกฤตการณ์โควิด จนกระทั่งปัจจุบันที่สถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มคลี่คลายสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมอีกครั้ง พื้นที่โครงการเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศ ยังคงเป็นเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน ปี 2564 มูลค่าการยื่นขอรับการส่งเสริมในพื้นที่ EEC ทั้ง 3จังหวัด มีมูลค่า 220,500ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34มีจำนวน 453 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7ฉะนั้น เมื่อพิจารณาเป็นสัดส่วนแล้ว มูลค่าเงินลงทุน ในพื้นที่ อีอีซี ในปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 34จากมูลค่าการยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมดตลอดปี ถือว่าเป็น 1 ในสามของขอรับการส่งเสริมการลงทุนของทั้งประเทศ
ภาคตะวันออกเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมในประเทศ จึงเป็นที่มาของการจัดงาน Maintenance, Industrial Robotic, and Automation Event (MIRA) งานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการบำรุงรักษา อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สำหรับภาคอุตสาหกรรมแห่งภาคตะวันออก ร่วมกับงาน Subcon EEC 2022 ในครั้งนี้ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่อย่างแท้จริง และเพื่อเข้าถึงผู้ประกอบการในพื้นที่ สร้างโอกาสเชื่อมโยงการรับช่วงการผลิตระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve และ New S-curve ต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยได้ขยายซัพพลายเชนชิ้นส่วนอุตสาหกรรม และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตของภูมิภาค
“รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ที่มุ่งใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ภายในงานMIRA และSubcon EEC ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกจะแสดงศักยภาพของ อีอีซี ในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรม S-Curve และ New S-Curve และช่วยให้ผู้ประกอบการขยายขีดความสามารถในการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมใหม่” นางสาวซ่อนกลิ่น กล่าว
นายสมชาย จักรินทร์ผู้อำนวยการ สถาบันไทย-เยอรมันหนึ่งในหน่วยงานสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ กล่าวว่า หลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีสถิติการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากที่สุดในอาเซียน และเป็นตลาดระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากสิงคโปร์ การเกิดขึ้นของโรงงานอัจฉริยะ ทำให้เกิดความต้องการอุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ศูนย์ข้อมูล บริการคลาวด์ 5G, AI, IoT, เซ็นเซอร์ และรีโมทคอนโทรล และเครื่องจักรขั้นสูง เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมการผลิตสู่สายการผลิตอัจฉริยะ เป็นอุตสาหกรรมการผลิตยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน ให้โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การจัดงาน MIRA และ Subcon EEC เป็นครั้งแรกถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยในการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยทางสถาบันไทย-เยอรมัน พร้อมจะจัดสัมมนาเพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับโซลูชั่นการบำรุงรักษาอุตสาหกรรม ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์Upskill Re-skill พัฒนาบุคลากรให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมในอีอีซี โดยจะร่วมจัดแสดงโซลูชั่นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้โรงงาน และเหมาะสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอีอีซี สู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลและศูนย์กลางเมืองอัจฉริยะในอาเซียน
นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่าพันธมิตรผู้ร่วมจัดงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักและมองเห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคตะวันออก โดยเฉพาะในพื้นที่โครงการเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของประเทศ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ จึงได้ขยายการจัดงาน SubconEEC โดยจัดร่วมกับงาน MIRA มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงการรับช่วงการผลิตระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve และNew S-curve ต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางในการผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยได้ก้าวขึ้นสู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับโลก และเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต รองรับอุตสาหกรรมใหม่ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ บนเนื้อที่กว่า 5,000ตารางเมตร ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา
ทั้งนี้ งาน Maintenance, Industrial Robotics, and Automation Event: MIRA งานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการบำรุงรักษา อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สำหรับภาคอุตสาหกรรมแห่งภาคตะวันออก พร้อมจัดควบคู่ไปงาน Subcon EEC ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเดิม และขยายไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ด้วย ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมอากาศยานและศูนย์ซ่อมบำรุง อุตสาหกรรมระบบราง อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยภายในงานประกอบด้วย 4กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจ ,Buyers’ Village, กิจกรรมสัมมนาให้ความรู้ และพื้นที่แสดงศักยภาพผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve Showcase)จากแบรนด์ชั้นนำ จะมีผู้ประกอบการรับช่วงการผลิตมาจัดแสดงกว่า 100 ราย ผู้ประกอบการรับช่วงการผลิตในประเทศ และต่างประเทศพบกับโอกาสต่อยอดอุตสาหกรรมไทยในศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ในงาน Maintenance, Industrial Robotics, and Automation (MIRA) และ งาน SubconEEC 2022 กำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระหว่างวันพุธถึงศุกร์ที่ 24-26 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี สามารถติดตามความเคลื่อนไหวและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของงานได้ที่ www.mira-event.com